ที่คั่นหนังสือ

          ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เป็นสาเหตุให้หนังสือมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆ ความรู้ต่างๆตลอดจน
ข้อมูลรวมทั้งข่าวสาร จะถูกบันทึกและเผยแพร่ในลักษณะอื่นที่ไม่ใช่กระดาษ เพราะกระดาษมีข้อจำกัดหลายประ
การเช่น กระดาษเสื่อมสภาพเร็ว ไม่คงทนถาวร เก็บข้อมูลได้น้อย ต้องดูแลรักษา และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมาก 
เป็นต้น    

          โลกในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูลและข่าวสาร ได้มีการจัดเก็บเรื่องราวของความรู้ในรูปแบบของเทคโน
โลยีสมัยใหม่แทนหนังสือ เพื่อที่จะได้สนองต่อความต้องการของผู้บริโภคข่าวสาร คอมพิวเตอร์ ซีดี-รอม แมก
เนติคเทป ตลอดจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  ได้เข้ามามีบทบาทแทนที่หนังสือมากยิ่งขึ้น จนมีความเชื่อกันว่าใน
ไม่ช้าสังคมของการเรียนรู้จะเปลี่ยนเป็นสังคมที่ปราศจากกระดาษ (Paperless Society) ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึงจะทำ
ให้ปริมาณการผลิตหนังสือเพื่อการค้ามีจำนวนน้อยลงจนแทบจะนับเล่มได้ และสิ่งหนึ่งที่จะหายไปจากความทรงจำ
ของนักอ่านหลายๆ คน และคนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักเลยก็คือ “ ที่คั่นหนังสือ ”

                                    

อดีตที่น่าสนใจของที่คั่นหนังสือ

          ปรากฏหลักฐานอ้างอิงทางโบราณคดี ที่ทำให้เชื่อได้ว่า “ ที่คั่นหนังสือ ” ได้รับใช้และเป็นเพื่อนคู่ใจของนัก
คิดนักอ่านมานาน พร้อมๆ กับการกำเนิดของตัวเล่มหนังสือ เพราะเป็นนิสัยของคนเราที่ชอบหยิบสิ่งของใกล้ๆ มือ
มาใช้ “ ที่คั่นหนังสือ ” ของนักอ่านสมัยก่อนส่วนใหญ่จึงได้แก่ เส้นฟาง หินก้อนเล็กๆ  เศษผ้า และเศษหนังสัตว์ 
เป็นต้น  

          ถึงแม้ว่าหนังสือในยุคหลังๆ จะมีเลขหน้ากำกับอยู่ เพื่อช่วยให้จำได้ว่าอ่านอยู่หน้าใด แต่นักอ่านก็ไม่นิยมใช้
ความจำ ยังคงใช้สิ่งของใกล้มือมาคั่นหนังสือเช่นเคย ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของใช้หรือของกิน หรือถ้าหาสิ่งของใกล้
มือไม่ได้ ก็จะใช้วิธีพับมุมกระดาษของหน้าที่ตนอ่านค้างไว้นั้นแทน ดังที่พบหลักฐานว่า
          ในช่วงศตวรรษที่ 13 ท่านบิชอป Richard DeBury แห่ง Durham ได้ลงโทษลูกศิษย์ที่ใช้เส้นฟางคั่นหนังสือไว้
หลายแห่ง เพราะเส้นฟางเหล่านั้นทำให้หนังสือพอง ปิดไม่ลง และการลืมทิ้งไว้นานๆเส้นฟางจะเน่าเปื่อย ทำให้
หนังสือชำรุดและเสียหาย
          ตัวอย่างในยุคต่อมาก็คือ มีการค้นพบว่า Edward Young กวีชาวอังกฤษ ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1683 – 1765 
มีนิสัยชอบพับหน้ากระดาษแทนการใช้ที่คั่นหนังสือ มีผู้พบในภายหลังว่าหนังสือจำนวนมากในห้องสมุดของเขา
มีตัวเล่มโป่งพองจนปิดเล่มไม่ได้ เพราะว่าหน้ากระดาษถูกพับไว้มากมาย 

          เมื่อกิจการในการพิมพ์ได้มีการพัฒนามากขึ้น การอ่านได้รับการส่งเสริมอย่างกว้างขวาง ทำให้หนังสือเป็นสิ่งที่
จำเป็นมากยิ่งขึ้น แต่พฤติกรรมของการใช้ “ ที่คั่นหนังสือ ” ของนักอ่านไม่ได้พัฒนาตามไป ส่วนใหญ่ยังคงเคยชินกับ
การใช้สิ่งของใกล้ตัวคั่นหนังสือ เช่น เศษกระดาษ ซองจดหมาย เปลือกเมล็ดแตงโมตากแห้ง กระดาษห่อลูกอม เศษ
ขนมปังกรอบ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะที่อ่านหนังสืออยู่

          บรรณารักษ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการอ่านได้พบสิ่งของต่างๆ ในเล่มหนังสือที่ส่งคืนห้องสมุดนั้น เป็นสิ่งของ
เครื่องใช้ที่มีความหลากหลาย ที่พบมากได้แก่ จดหมาย ใบเสร็จ ภาพถ่าย ไพ่ ภาพโปสการ์ด กิ๊บติดผม ก้านไม้ขีด 
เส้นผม เป็นต้น สิ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวขณะที่อ่านหนังสือ มีเรื่องเล่าถึงการใช้สิ่งของแปลกๆ คั่น
หนังสือ  ซึ่งไม่สามารถคาดเดาว่าเป็นการตั้งใจใช้ หรือเพราะของสิ่งนั้นอยู่ใกล้ตัว
          ดังเช่น นักปราชญ์ชื่อ Alexander Ross ซึ่งมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 17 ชอบใช้เหรียญทองคั่นหนังสือเป็นประจำ
จนเมื่อเขาสิ้นชีวิตลงจึงพบว่าเหรียญทองที่สอดคั่นหนังสือในห้องสมุดของเขา รวมแล้วมีมูลค่าถึงหนึ่งพันปอนด์
          เช่นเดียวกับนาย John Selden ซึ่งไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นประจำ แล้วใช้แว่น
ตาคั่นหน้าหนังสือและลืมทิ้งไว้เสมอจนบรรณารักษ์จำได้ เพราะเก็บแว่นตาของนาย John Selden ไว้ได้นับเป็น
จำนวนหลายโหล      

ที่คั่นหนังสือกับธุรกิจ

          ได้มีการริเริ่มทำ “ ที่คั่นหนังสือ ” สวยๆขึ้นวางขายโดย Thomas Stevens ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการโรงงานทอผ้า
ไหมในประเทศอังกฤษ “ ที่คั่นหนังสือ ” ของ Thomas Stevens ทำด้วยผ้าไหมทอเป็นลวดลายงดงาม และเมื่อโรงงาน
ถูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ต้องหยุดกิจการไป แต่อย่างไรก็ตาม “ ที่คั่นหนังสือ ” ของ Thomas Stevens 
หรือที่นิยมเรียกว่า Stevengraphs ยังได้รับการกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอ จนกลายเป็นของสะสมที่หายากและมีราคาใน
ปัจจุบันอันละไม่ต่ำกว่า 12,500 บาท

          ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา กิจการทำ “ ที่คั่นหนังสือ ” เกิดขึ้นอย่างมากมายทั้งในด้านการค้าและความ
ชอบของกลุ่มบุคคล ขนาดและวัสดุที่ใช้ทำก็มีความหลากหลาย ได้แก่ กระดาษ หนังสัตว์ ผ้าไหม งาช้าง ทอง
เหลือง และพลาสติก เป็นต้น วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อเป็นของขวัญและของที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่สำคัญๆ เช่น
วันคล้ายวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมทำเป็นของที่ระลึกวางขายในพิพิธภัณฑ์และสถาน
ที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นของที่นักท่องเที่ยวนิยมสะสม เพราะมีขนาดเล็ก ราคาไม่แพง สวยงามทนทาน และที่สำคัญ
ก็คือ ช่วยให้รำลึกถึงสถานที่ที่เคยไปเยือนได้เป็นอย่างดี

                             

          ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ “ ที่คั่นหนังสือ ” ยังทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้เป็นอย่างดี 
เพราะว่าสำนักพิมพ์ บริษัท ห้างร้าน องค์การ ฯลฯ ต่างก็จัดทำ “ ที่คั่นหนังสือ ” แจกลูกค้าและผู้สนใจเนื่องในโอ
กาสต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของตน โดยเฉพาะสำนักพิมพ์จะนิยมทำ “ ที่คั่นหนังสือ ” แถมคู่ไปกับ
ตัวเล่มที่พิมพ์ขึ้นวางขายเป็นการประชาสัมพันธ์หนังสือเล่มนั้นไปด้วย ขณะที่ผู้ซื้อก็ใช้ประโยชน์ได้อีก

          นอกจากจะมีการออกแบบและประดิษฐ์ลวดลายของ “ ที่คั่นหนังสือ ” ให้สวยงามน่าใช้ ผู้ผลิตยังนิยมพิมพ์ข้อ
ความที่น่าสนใจ หรือความรู้รอบตัวต่างๆ ออกเผยแพร่ตามโอกาสที่เหมาะสมอีกด้วย เช่น สุภาษิต คำขวัญ คำคม 
คำเตือนใจ และข้อความรณรงค์ในเรื่องต่างๆ สำหรับสำนักพิมพ์นั้นจะนิยมพิมพ์เนื้อเรื่องย่อของหนังสือ ประวัติ
ของผู้เขียน ตัวอย่างหน้าปกของหนังสือ สูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ ( หนังสือคณิตศาสตร์ ) ตารางสอน
( หนังสือเรียน ) ตารางปฏิทิน ( หนังสือที่วางขายช่วงปีใหม่ )       

          ถึงแม้จะไม่มีรูปแบบของการจัดทำ แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า “ ที่คั่นหนังสือ ” ที่ดีควรเป็นสิ่งที่บางเบา มีพื้นผิว
ที่น่าสัมผัส ถ้าใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้หนังสือเกิดความเสียหาย หรือทำให้กระดาษเป็นรอยขีดข่วน
ดังนั้นนักอ่านที่ดีควรจะรักหนังสือและไม่ทำลายหนังสือด้วยการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมมาคั่นหนังสือ.

    
 
            ข้อมูลจาก www.lib.ru.ac.th

Visitors: 123,602