ของชำร่วยเซรามิก : ต้องสร้างเอกลักษณ์... พร้อมรุกตลาดใหม่ |
หลายปีที่ผ่านมาการส่งออกของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำจากเซรามิกของไทยเป็นไปในทิศทาง
ที่ค่อนข้างถดถอยลงตามลำดับ ตามรายงานของกรมศุลกากร พบว่า มูลค่าการส่งออก 1,616.1 ล้านบาทในปี 2543 ก็ทยอยลดลงมาเป็น 1,273.2 ล้านบาทในปี 2547 หรือขยายตัวลดลง 14.4% ต่อปี และปรับตัวลดลงอีกในปี 2549 เป็นมูลค่า 1,081.2 ล้านบาท หรือหดตัว 17% ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง จากทั้งผลิตภัณฑ์ราคาถูกของจีน และผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งในตลาดระดับบนที่มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยี การผลิตระดับสูง การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่ม ประเทศสหภาพยุโรป เช่นเยอรมนี อิตาลี และสเปน ของไทยกลับมีทิศทางที่กระเตื้องขึ้นพอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนด้วยมูลค่าการส่งออก 794.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.2% (คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 22.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน) ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้เพื่อการส่งออกของไทยได้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วย การนำเทคนิคด้านการออกแบบมาใช้ในการพัฒนาสินค้าให้มีรูปลักษณ์ สีสัน และลวดลายที่มีความทันสมัยตรงกับ ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุง เครื่องจักรให้ทันสมัยขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของสินค้า จน สามารถสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของจีนได้ คาดว่า น่าจะกระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และอาจจะเป็นปีแรกในช่วงหลายปีที่ผ่านที่อัตราการเติบ โตเป็นบวก ด้วยระดับการเติบโตประมาณ 5-10% หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,100-1,200 ล้านบาท กับปี 2550 โดยปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นปัญ หาด้านราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังทรงตัวในระดับสูง ปัญหาค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง หรือภาวะการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักของไทยบางประเทศอย่างสหรัฐฯในกรณีที่ปัญหาซับไพร์บยืดเยื้อ จนส่งผลต่อเนื่องให้ กำลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐฯลดต่ำลง หรือตลาดญี่ปุ่นที่เป็นตลาดสำคัญอันดับสามรองจากสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ นั้นก็มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะชะลอตัว อันเป็นผลมาจากการหดตัวของการลงทุน มักจะมีแนวโน้มซื้อของขวัญของตกแต่งบ้านลดลง และเลือกซื้อของที่ราคาถูกลงโดยเฉพาะในตลาดระดับกลางถึงล่าง ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคมีต้นทุนในการเปลี่ยนตราสินค้าและมีความภักดีต่อตราสินค้าไม่มากนัก ขณะที่กลุ่มสินค้าใน ตลาดระดับบนนั้น ผู้บริโภคก็อาจจะปรับเปลี่ยนมาซื้อสินค้าในตลาดระดับกลางที่ผลิตภายในประเทศตนเองทดแทน มากขึ้นได้ หรืออาจจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายด้วยการซื้อสินค้าในมูลค่าเม็ดเงินต่อครั้งที่ลดลง หรือลด จำนวนครั้งในการจับจ่ายลง เนื่องจากสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภทมากขึ้น นับตั้งแต่สินค้าราคาถูกไปจนถึงสินค้าที่มีคุณภาพและราคา แพง ทำให้แนวโน้มสถานการณ์การแข่งขันของสินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสเข้มข้นมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน และอาจจะมีผลให้ สินค้ากลุ่มนี้ของไทยขยายตัวได้ยากลำบากมากขึ้นตามลำดับ และญี่ปุ่น ที่พบว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เวียดนามสามารถครองส่วนแบ่งตลาดเหนือไทยมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ขณะที่ใน ตลาดสหภาพยุโรปนั้น เวียดนามก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าไทยเช่นเดียวกันไม่ต่ำกว่า 5 ปี ส่วนหนึ่งน่าจะเป็น ผลมาจากการที่นักลงทุนกลุ่มยุโรปหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามมานานแล้วเพื่ออาศัยประโยชน์ด้านต้นทุน การผลิตที่ต่ำกว่า การรายใหม่ในตลาดระดับกลางถึงล่างไม่ยากมากนัก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก และ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนการประกอบกิจการไม่สูงมากด้วย นอกจากนี้ยังเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีความภักดีต่อตราสินค้าไม่ มากนักด้วย ทำให้ผู้ผลิตรายเดิมอาจจะต้องมีการดำเนินกลยุทธ์ลดราคาสินค้าเพื่อการแข่งขันรักษาฐานลูกค้าเดิม แต่ทั้งนี้ ในที่สุดแล้วกำไรต่อหน่วยก็อาจจะลดลงตามไปด้วย และการสร้างสรรค์ชิ้นงาน แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าผู้บริโภคมีความภักดีต่อตราสินค้ามากกว่าสินค้าในตลาดระดับกลางและ ล่าง อีกทั้งการลงทุนยังต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูงเพื่อผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ และแตกต่างโดดเด่น ทำให้การเข้าสู่อุต สาหกรรมของผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาดระดับบนอาจจะยากกว่าตลาดในระดับกลางและล่างพอสมควร ตลาดให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจาะตลาด และยกระดับสินค้ากลุ่มนี้ของไทยให้ก้าวสู่ตลาดระดับ กลางถึงบนให้ได้ เพราะนอกจากจะเป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคากับจีนได้แล้ว ยังเป็นการบรรเทาการเผชิญ ปัญหาลอกเลียนแบบสินค้าได้อีกระดับหนึ่งด้วย มีแนวโน้มที่สดใสเมื่อเทียบจากปีก่อนด้วยระดับการเติบโตประมาณร้อยละ 5-10 ขณะที่ภาวะการแข่งขันน่าจะเป็นไปใน ลักษณะที่ทวีความเข้มข้นค่อนข้างสูงตั้งแต่ตลาดระดับบนถึงตลาดระดับล่าง นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับหลากปัจจัยที่ ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันโดยรวมพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงตามภาวะ เศรษฐกิจโลก หรือแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ที่ใกล้เคียงกับปี 2550 แต่ยังคงมีแรงกดดันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทั้งปัญหาราคาน้ำมันที่ คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และแนวโน้มภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น รวมถึงจำนวนคู่แข่งทั้งผู้ประกอบการคนไทยด้วยกันเอง ผู้ประกอบการในตลาดคู่ค้า และคู่แข่งต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่งเซรามิกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเข้ามาใช้เพื่อยกระดับในค้าให้สูงขึ้นโดยด่วน ซึ่งนวัตกรรมและคุณภาพที่เกิดขึ้นต้องเริ่มต้นจากการวิจัยและพัฒนาที่แข็งแกร่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นับวันจะมีความต้อง การที่หลากหลาย และแยกย่อยเพิ่มขึ้น หรือมีความต้องการเฉพาะเจาะจงมากขึ้น รักษาฐานลูกค้าส่วนใหญ่ในตลาดระดับล่างถึงกลาง และสามารถขยายฐานลูกค้าเข้าไปในตลาดระดับบนได้มากขึ้น โดยอาศัยการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในส่วนของสีสัน รูปแบบ รูปทรงที่แตกต่างจากรูปทรงทั่วไปที่อาจ จะอิงความเป็นธรรมชาติเช่นรูปหยดน้ำ ใบไม้ หิน ดอกไม้ หรือนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาตกแต่งสร้างสรรค์สินค้า ภายใต้เงื่อนไขเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละตลาดเป็นสำคัญ เพราะเมื่อลูกค้ามีความภักดีต่อ ตราสินค้าก็ย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาก็ควรเป็นไปอย่างเหมาะสมเมื่อ เทียบกับวัตถุดิบที่ใช้และความยากง่ายในการผลิตด้วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น กาสในการสร้างกำไรต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมถึงควรเร่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้ารายเดิม และแสวงหาคู่ค้าราย ใหม่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งหาโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศบ้างเพื่อรับรู้ ถึงความต้องการแท้จริงของผู้บริโภคและพัฒนาการของคู่แข่ง ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกในวง กว้างยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในอุตสาหกรรมของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งของผู้ประกอบการไทยใน ระยะยาว ขณะที่ภาครัฐก็น่าจะเข้ามาเป็นกำลังสนับสนุนสำคัญด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการผลิต สินค้ากลุ่มนี้จากต่างประเทศมาให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ผลิตคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่ การผลิตที่ได้รูปแบบที่ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศแต่ละแห่งอย่างแท้จริงมากยิ่งขึ้น |
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ